ดูแลคนที่เรารักตั้งแต่ตอนที่เขายังเดินได้ ดีกว่าไหม

เป็นความห่วงใย ที่ผมอยากจะบอกให้เพื่อนๆรู้ว่า หากการดูแลคนที่เรารัก หากการที่เราจะสามารถช่วยเพิ่มความสบายเวลาเดิน อย่ารอจนเข่าเสื่อมมากๆแล้วค่อยมาดูแล มันอาจจะสายเกินไป อ่านบทความดีๆเรื่องการดูแลสุขภาพข้อเข่าจากที่นี่ การดูแลอาการข้อเข่าเสื่อม

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พืชผักพื้นบ้านผลิต ผงปรุงรส

09 Dec, 2010

พืชผักพื้นบ้านผลิต ผงปรุงรส ทุนน้อย-อาหารอร่อย-สุขภาพดี มีรายได้เสริมให้ครอบครัว

d67b5c95i8eafhbj976fe พืชผักพื้นบ้านผลิต ผงปรุงรส ทุนน้อย อาหารอร่อย สุขภาพดี มีรายได้เสริมให้ครอบครัว

การดำเนินชีวิตประจำวันของคนเราที่ต่างรีบเร่งแข่งขันกับเวลา ทุกอย่างกลายเป็นเรื่องรีบร้อน ทำให้มีผลิตภัณฑ์ต่างๆ เข้ามาช่วยเสริมช่องว่าง ไม่เว้นแม้แต่เรื่องของอาหาร ที่ปัจจุบันการมี “ผงปรุงรส” เพียงห่อเดียวก็ช่วยให้อาหารจานด่วนนั้นอร่อยได้ในเวลาอันรวดเร็ว และเพื่อความต่างจากผงปรุงรสที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป ดร.นิภาพร อามัสสา จากสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรสกลนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ได้วิจัย “ผงนัว” หรือผงปรุงรสอาหาร ที่ผลิตจากพืชผักสมุนไพรพื้นบ้าน นอกจากช่วยเสริมรสชาติอาหารให้อร่อย ใช้ทุนน้อยในการผลิตแล้ว ยังช่วยบำรุงร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรงด้วย

ดร.นิภาพร กล่าวว่า การวิจัยและผลิตผงนัวสำเร็จรูปขึ้นมานี้ เป็นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้พืชผักสมุนไพรทำเครื่องปรุงเพื่อเพิ่ม รสชาติให้อาหาร ที่ปัจจุบันสามารถที่จะผลิตออกวางขายและถ่ายทอดงานวิจัยตัวนี้ลงสู่ชุมชน แล้ว โดยเป็นการสานต่อจากโครงการ “การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตผงปรุงรสจากผักพื้นบ้านและเห็ดเพื่อใช้ใน อุตสาหกรรม” เป็นผลงานวิจัยที่สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ให้ทุนสนับสนุนในการดำเนินการวิจัย

“เริ่มงานวิจัยโครงการนี้ เมื่อปี 2552 กว่าจะได้เป็นสูตรผงนัวที่ออกมาดังที่เห็นปัจจุบัน ต้องใช้เวลาพอสมควร เนื่องจากการหาข้อมูล ต้องทำอย่างละเอียด ขณะที่ขั้นตอนการทดลองก็ใช้เวลาไม่น้อยพิถีพิถันมาก เพื่อให้เป็นผงปรุงรสที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ ทั้งทำให้รสชาติอาหารดีขึ้น ขณะที่ความต่างก็คือช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง รักษาโรคต่างๆ” ดร.นิภาพร

ดังนั้นวัตถุดิบที่ถูกนำมาทำผงนัว ก็คือผักพื้นบ้านที่มีวิตามิน และเกลือแร่ต่างๆ อันเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งพบในใบมะขามอ่อน, ยอดส้มป่อย, ผักหวานป่า, ผักหวานบ้าน, ผักโขม, ใบมะรุม, ใบหม่อน, ใบกระเจี๊ยบ, ผักโขมทั้งต้น, เห็ด, ชะมวง และยังมีผักพื้นบ้านอื่นๆ อีกมาก เหล่านี้นอกจากมีคุณสมบัติเป็นเครื่องปรุงรสแล้ว ยังให้ประโยชน์ด้านสมุนไพร อีกทั้งดอกมะรุม มีศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระในระดับที่สูงมากอีกด้วย

“การทำผงนัวต้องใช้เวลาทั้งปี เพื่อเก็บใบของผักพื้นบ้านให้ครบ เนื่องจากผักแต่ละชนิดมีฤดูกาล อย่างใบหอม ใบกระเทียมจะมีตอนฤดูหนาว ผักหวานต้องรอให้ถึงหน้าฝน”
ดร.นิภาพร แจงเสริมถึงวิธีการทำผงนัวว่า นำส่วนผสมที่เป็นพืชผักมาอย่างละเท่าๆ กัน หั่นแล้วนำไปบดหรือตำให้ละเอียด จากนั้นเติมข้าวสารเหนียวแช่พอประมาณ ตำผสมกันให้ละเอียด เสร็จแล้วนำมาปั้นเป็นก้อนแบนๆ ตากแดดให้แห้ง ก่อนนำมาบดเป็นผงใช้ปรุงรสอาหารตามขั้นตอน ที่สำคัญต้องปลอดภัยต่อสุขภาพด้วย และจากวัตถุดิบที่ใช้ทั้งหมดเป็นผักพื้นบ้านที่มีพร้อมในท้องถิ่น ทำให้ช่วยลดต้นทุนในการผลิตไปได้เยอะ ดังนั้นเราจึงค่อยๆ ถ่ายทอดสู่ชุมชนเพื่อที่ให้เขานำไปต่อยอดเป็นการสร้างอาชีพต่อไป

ด้วยคุณประโยชน์ของ “ผงนัว” ผลิตภัณฑ์ที่สกัดมาจากผักพื้นบ้านของไทยเรา จึงทำให้อาหารที่ปรุงรสด้วยผงชนิดนี้ครบด้วยคุณประโยชน์ ทั้งบำรุงร่างกาย รักษาโรคต่างๆ จึงถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ประกอบอาหาร ที่นอกจากต้องการเพิ่มรสชาติของอาหารให้อร่อยแล้ว ยังช่วยเพิ่มคุณค่าทางอาหาร อันให้มีประโยชน์ต่อร่างกายมากยิ่งขึ้น

ผู้ที่สนใจเทคโนโลยีการผลิตผงนัวเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่มีคุณค่าทาง โภชนาการ สามารถขอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) โทร.0-2579-7435 ต่อ 138 หรือwww.arda.or.th

สนับสนุนข่าวสารโดย
logo nationgroup พืชผักพื้นบ้านผลิต ผงปรุงรส ทุนน้อย อาหารอร่อย สุขภาพดี มีรายได้เสริมให้ครอบครัว

ขอขอบคุณบทความนี้จาก http://www.keajon.com/powdered-seasoning-from-vegetable/comment-page-1/#comment-1906

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิกข้อมูลเชิงลึกด้วย email

Enter your email address:

Delivered by FeedBurner