ดูแลคนที่เรารักตั้งแต่ตอนที่เขายังเดินได้ ดีกว่าไหม

เป็นความห่วงใย ที่ผมอยากจะบอกให้เพื่อนๆรู้ว่า หากการดูแลคนที่เรารัก หากการที่เราจะสามารถช่วยเพิ่มความสบายเวลาเดิน อย่ารอจนเข่าเสื่อมมากๆแล้วค่อยมาดูแล มันอาจจะสายเกินไป อ่านบทความดีๆเรื่องการดูแลสุขภาพข้อเข่าจากที่นี่ การดูแลอาการข้อเข่าเสื่อม

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การตัดสินใจของผู้นำ

การตัดสินใจของผู้นำ
จากการตัดสินใจของ นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน ในการประกาศถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาล ด้วยเหตุผลห่วงใยในความสำคัญของปัญหาเศรษฐกิจและความทุกข์ยากของประชาชนในประเทศ มากกว่าการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งผลการตัดสินใจครั้งนี้ กลับมีผลบานปลาย นอกจากจะไม่สามารถสร้างอำนาจต่อรองกับพรรคพลังประชาชนได้แล้ว ยังส่งผลให้ลูกพรรคต้องหาหัวหน้าพรรคคนใหม่ ทำให้เกิดการเสื่อมศรัธราจากลูกพรรค และที่สำคัญก็กลายเป็นเรื่องโปกฮาในสายตาประชาชน


เป็นอย่างไรบ้างครับ เพียงแค่หัวหน้าพรรคการเมืองทำการตัดสินใจเรื่องการเสนอรายชื่อบุคคลในพรรคเพื่อปรับคณะรัฐมนตรี แต่กลับไปประกาศถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล นั่นเป็นการตัดสินใจของผู้นำพรรคร่วมรัฐบาลแต่เพียงคนเดียวหรือกลุ่มคนที่ใกล้ชิดนายสุวิทย์ก็ตาม กลับเกิดผลกระทบในทางลบมากกว่าทางบวกมากมาย


กระบวนการตัดสินใจของบุคคลที่มีบทบาทในฐานะผู้นำนั้น มีความสำคัญมาก ซึ่งถ้าตัดสินใจถูกก็จะนำองค์การไปสู่ความสำเร็จ แต่ถ้าตัดสินใจผิดพลาดก็จะนำองค์การไปสู่ความถดถอยหรือความล่มสลายได้ ดังนั้นในการตัดสินใจของผู้นำมีข้อควรคำนึง ดังนี้
ตัดสินใจเกี่ยวกับอะไรหรือเพื่ออะไร (Decision Statement)
โดยผู้ที่ทำการตัดสินใจจะต้องทราบปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นอย่างดี และศึกษาข้อมูลที่เพียงพอ เพื่อประกอบการตัดสินใจ ซึ่งจะต้องคำนึงถึงสภาวะแวดล้อมในสถานการณ์นั้น ๆ

เกณฑ์หรือมาตรฐานที่ใช้ในการตัดสินใจ (Criteria)
ผู้ที่ทำการตัดสินใจจะต้องรักษามาตรฐานในระเบียบ กฎเกณฑ์ขององค์กรให้ดี หากเป็นเรื่องที่ต้องตัดสินใจในเรื่องที่ไม่ได้มีการกำหนดกฎเกณฑ์ไว้อย่างชัดเจน ก็ให้ทำการตั้งเกณฑ์ขึ้นใหม่ โดยให้สอดคล้องกับค่านิยม หรือวัฒนธรรม ของสังคมนั้น การกำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นนั้น จะช่วยลดเวลาในการกำหนดตัวเลือกไม่เข้าลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้

การกำหนดตัวเลือก (Alternatives)
หลังจากได้มาตรฐานเพื่อช่วยคัดสรรตัวเลือกหรือทางเลือกแล้ว ผู้ที่ทำการตัดสินใจควรจะมีตัวเลือกสัก 2 -3 ตัวเลือก เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการตัดสินใจ

เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของตัวเลือกแต่ละตัว (Benefits and Risks Analysis)
ขั้นตอนการเปรียบเทียบข้อดี และข้อเสีย ของตัวเลือกแต่ละตัวนั้น ต้องระวังเป็นอย่างมากในการกำหนดคุณลักษณะของข้อดีและข้อเสียไม่ตรงกันหรือวางผิดตำแหน่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาพลวงตาในการเปรียบเทียบตัวเลือกที่จะนำไปสู่การตัดสินใจเลือกตัวเลือกที่ผิดพลาดหรือไม่เหมาะสมได้

การตัดสินใจ (Decision)
เมื่อผ่านขั้นตอนทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วนั้น ในท้ายที่สุดต้องมาถึงช่วงเวลาของการตัดสินใจ ผู้นำอาจใช้วิธีการตัดสินใจ ดังนี้
5.1 .ใช้ประสบการณ์หรือดุลพินิจ (Experience) วิธีนี้ผู้นำที่มีประสบการณ์มาก ๆ ย่อมตัดสินใจได้ง่าย และยิ่งผู้นำที่ผ่านกระบวนการตัดสินใจบ่อยๆ ก็จะมองเห็นปัญหานั้นเป็นเรื่องง่าย ตัดสินใจเร็ว ตามรูปแบบปัญหาเดิมจากประสบการณ์เดิมในอดีต แต่วิธีนี้อาจมีผลเสียเกิดขึ้นได้ หากใช้กับการตัดสินใจในปัญหาเดิมแต่อยู่ในสถานการณ์ที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ย่อมอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้


5.2 .ใช้ยุทธวิธีการรีรอ (Delay Tactics)วิธีนี้ใช้กับปัญหาบางอย่างที่ผู้นำมองเห็นหรือคาดการว่าสามารถคลี่คลายไปได้เอง โดยประวิงเวลาให้สถานการณ์บางอย่างเปลี่ยนแปลงไป หากรีบร้อนตัดสินใจลงมือแก้ปัญหาทันที อาจเกิดผลกระทบเสียหายมากกว่า


5.3 .ใช้ตัวแบบในเชิงปริมาณ (Quantitative Methods) วิธีนี้เป็นการวิเคราะห์
ปัญหาโดยใช้ ข้อมูล ทฤษฎี ตัวเลข มากประมวลผลได้ ผลเสีย เพื่อการตัดสินใจที่คุ้มค่าและลดความเสี่ยง แต่การตัดสินใจวิธีนี้ต้องเป็นการตัดสินใจในสถานการณ์ปกติ มีเวลาเพียงพอในการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด


5.4 .ใช้การระดมสมอง (Brainstorming) วิธีนี้ผู้นำจะต้องกระตุ้นให้สมาชิกที่ร่วม
ในการตัดสินใจ นำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยใช้วิธีการหามติเอกฉันท์ร่วมกัน (Consensus) เพื่อให้เกิดการย่อมรับและไม่เกิดปัญหาขึ้นภายหลัง ซึ่งผู้นำคนเดียวก็มักจะมีรูปแบบของการตัดสินใจเฉพาะตัว จึงทำให้เกิดข้อจำกัดทางความคิดจึงจะต้องอาศัยมุมมองจากความคิดของผู้อื่นบาง เพื่อให้เกิดตัวประกอบใหม่ๆ ในทางปัญญาที่จะนำไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้อง ซึ่งการระดมสมองนี้มักใช้กับสถานการณ์ที่บีบคั้น หรือมีเวลาจำกัด

สรุปได้ว่า ผู้นำจะต้องฝึกฝนกระบวนการตัดสินใจให้ดี เพราะบทบาทของผู้นำจะทำงานในเชิงปฏิบัติการน้อยลง วันหนึ่งๆ มีแต่เรื่องที่ให้ตัดสินใจมากมายหลายเรื่อง ล้วนแต่เป็นเรื่องสำคัญต่อองค์การทั้งสิ้น และระดับความเสียหายของการตัดสินใจผิดพลาดย่อมสูงขึ้นตามลำดับ ลูกน้องตัดสินใจทำงานผิดยังคงพอแก้ไขได้แต่ถ้าผู้นำตัดสินใจในนโยบายพลาดอาจนำไปสู่ความล่มสลายขององค์กร ดังนั้นผู้นำจะต้องพัฒนาภาวะผู้นำในการตัดสินใจที่ดี จึงจะเป็นผู้นำที่ได้รับการยอมรับ

เขียนโดย สโรช พชรกูล
วิทยากรและนักเขียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิกข้อมูลเชิงลึกด้วย email

Enter your email address:

Delivered by FeedBurner