ดูแลคนที่เรารักตั้งแต่ตอนที่เขายังเดินได้ ดีกว่าไหม

เป็นความห่วงใย ที่ผมอยากจะบอกให้เพื่อนๆรู้ว่า หากการดูแลคนที่เรารัก หากการที่เราจะสามารถช่วยเพิ่มความสบายเวลาเดิน อย่ารอจนเข่าเสื่อมมากๆแล้วค่อยมาดูแล มันอาจจะสายเกินไป อ่านบทความดีๆเรื่องการดูแลสุขภาพข้อเข่าจากที่นี่ การดูแลอาการข้อเข่าเสื่อม

วันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554

น้ำมันอโรมา กับการทดลองโดยนักวิจัย

Aromatherapy หรือการบำบัดด้วยกลิ่นหอมจากมวลพฤกษานั้น ฟังดูอาจจะน่าผ่อนคลาย และน่าหลงใหล แต่นักวิจัยพบ อโรมาเทอราพีนั้นมีผลดีทางด้านการบำบัดรักษาต่อสุขภาพ

ธุรกิจที่เกี่ยวกับอโรมาเทอราพี ไม่ว่าจะเป็นการนวดอโรมาเทอราพี สปาอโรมาเทอราพี เป็นการบำบัดที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และราคาค่อนข้างแพงถึงแพงมาก เป็นที่นิยมโดยเฉพาะในประเทศอินเดียและอียิปต์มานับพันปีแล้วล่ะครับ

แต่จากรายงานที่มีการทดลอง ได้มุมมองตรงกันข้ามกับที่เราเคยได้ยินมาครับ

ทีมงานนักวิจัยนำโดย Janice Kiecolt-Glaser จาก Ohio State University จึงสงสัยในประโยชน์และพยายามที่จะหาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ประโยชน์ของอโรมาเทอราพี

พวกเขาได้ทดลองใช้น้ำมันหอมระเหยจากมะนาว และลาเวนเดอร์ ซึ่งเป็นกลิ่นหอมกรุ่นยอดนิยม และใช้น้ำกลั่นบริสุทธิ์ (Distilled water) เป็นตัวแปรควบคุม มาทดลองกับกลุ่มตัวอย่างที่มีสุขภาพดีจำนวน 56 คน โดยตัวอย่างได้ดมก้อนสำลีที่ชุบด้วยกลิ่นทั้ง 3 กลิ่นใน แล้วมีการวัดความดันเลือดและอัตราการเต้นของหัวใจ รวมถึงตัวอย่างเลือดเป็นระยะๆ เป็นเวลา 3 วัน ทีมงานไม่พบว่ามันช่วยอะไรได้เลยในเรื่อง ภูมิคุ้มกันโรค (immune status) การสมานแผล (wound healing) หรือการระงับความเจ็บปวด (pain control) แม้แต่น้อยนิด

ในการทดสอบการระงับความเจ็บปวด อารมณ์และความเครียดนั้น ผู้ทดลองให้กลุ่มตัวอย่างจุ่มเท้าลงในน้ำอุ่นอุณหภูมิ 32 องศาเซลเซียส แล้วตอบแบบสอบถาม

แต่อย่างน้อยทางทีมงานก็พบว่า น้ำมันหอมระเหยจากมะนาวนั้นช่วยให้ผู้ที่ใช้มีอารมณ์ดีขึ้น ในขณะที่ลาเวนเดอร์กลับไม่ได้ช่วยอะไรเลยแม้แต่น้อยแม้แต่การคลายเครียด ซึ่งธุรกิจอโรมาเทอราพีใช้ลาเวนเดอร์เป็นตัวช่วยในการนอนหลับ (Sleep aid)

ผู้วิจัยจึงเตือนว่า หากคุณชื่นชอบกลิ่นของอโรมาเทอราพี แล้วจะซื้อหามาใช้นั่นเป็นอีกประเด็นหนึ่ง แต่ถ้าต้องการเพื่อการบำบัดเพื่อสุขภาพแล้วขอให้คิดอีกที

รายงานการค้นพบครั้งนี้ได้เผยแพร่ในวารสาร Psychoneuroendocrinology ครับ

แหม...สุดยอดเลยใช่ไหมครับ แต่ผมว่า บางทีเราไปนวดอโรมาเทอราพีหรือไปลงอ่างสปาเราก็หวังเพียงเพื่อผ่อนคลาย โดยเฉพาะหลังจากสัปดาห์ที่เหนื่อยอ่อนจากทำงาน ได้ไปนวดในห้องหอมๆ หรือลงแช่ในอ่างสปาหอมๆ ก็หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง คงไม่ได้หวังผลด้านการบำบัดรักษาอื่นๆมากไปกว่านั้น

ในห้องคลอด (Maternity Ward) ของโรงพยาบาลอาไมเดล จะมีอ่างสปาอุ่นๆ หอมๆ พร้อมเพลงเบาๆ สบายๆ ให้หญิงมีครรภ์ใกล้คลอดลงไปแช่ในขณะที่ปวดครรภ์และรอคลอด ในการลงไปนอนแช่ในนั้นอยู่หลายชั่วโมงเหมือนกัน โดยมีพยาบาลเอาน้ำแข็งปดมาป้อนเพื่อมิให้ร่างกายเราขาดน้ำและเหนื่อยอ่อน ส่วนอีกคนก็คอยเอาเครื่องมือมาวัดใต้น้ำเป็นระยะๆว่าเด็กใกล้จะคลอด (engage) หรือยัง ทั้งความร้อน ทั้งเสียงเพลง และความหอม (อโรมาเทอราพี) ช่วยผ่อนคลายลดความเครียดและบรรเทาความเจ็บปวดก่อนคลอดลงได้เยอะหละครับ



อ้างอิง
Healthday. “Aromatherapy Falls Short, Study Finds”. Retrieved from:http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/news/fullstory_61886.html
Dated: March 19, 2008.


Medical News Today. “Aromatherapy May Improve Mood But Will Not Make You Better”. Retrieved from: http://www.medicalnewstoday.com/articles/99506.php
Dated: March 19, 2008.


NewKerala. “Aromatherapy might help relax, but it won't make you healthy”. Retrieved from:http://www.newkerala.com/one.php?action=fullnews&id=30412
Dated: March 6, 2008.

Ohio State University. “AROMATHERAPY MAY MAKE YOU FEEL GOOD, BUT IT WON’T MAKE YOU WELL”. Retrieved from: http://researchnews.osu.edu/archive/aromathe.htm
Dated: March 19, 2008.



Science Daily. “Aromatherapy May Make You Feel Good, But It Won't Make You Well, Study Shows”. Retrieved from: http://www.sciencedaily.com/releases/2008/03/080303093553.htm
Dated: March 19, 2008.



สรุปว่า การใช้อโรมา นั้น ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ เพราะแม้จะไม่มีการพิสูจน์แน่ชัด

แต่มันก็ทำให้ความเครียด ความล้าทางร่างกาย อารมณ์ลดลงไปได้ และทำให้สมดุล

ร่างกายของเรากลับคืนมาครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิกข้อมูลเชิงลึกด้วย email

Enter your email address:

Delivered by FeedBurner