หลายสิบปีมานี้ อาหาร ข้าว ปลา ผัก ผลไม้ ที่ได้รับการประชาสัมพันธ์และส่งเสิรมให้บริโภคมักจะเป็นผลไม้ต่างประเทศทั้งนั้น ส่วนหนึ่งนั้นเป็นเพราะในต่างประเทศมีหน่วยงานทางด้านการศึกษาและวิจัยที่มีความสามารถในการประชาสัมพันธ์งานวิจัย ต่างกับในประเทศด้อยพัฒนาหลาย ๆ ประเทศที่ผลงานวิจัยเป็นเพียงกลุ่มกระดาษเก่า ๆ อยู่บนชั้นที่ไม่มีใครเข้าถึง
ผลไม้ที่เรารู้สรรพคุณว่ามีวิตามิน มีเกลือแร่ และอาหารอะไรมักจะเป็น แอปเปิ้ล กีวี อโวคาโด้ ลูกพรุน แบล็คเบอร์รี่ และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่พอถามคนทั่วไปว่ารู้หรือไม่ว่า กล้วยน้ำหว้า มีวิตามินอะไรบ้าง ….รับรองได้ว่าเงียบเป็นเป่าสากครับ
ในความเป็นจริงแล้วอาหาร ผลไม้ หรือผักในพื้นฐานของประเทศเราเองก็ไม่ได้มีสรรพคุณน้อยหน้าของเมืองนอกแต่อย่างใด ซึ่งหากทุกท่านจะลองค้นหามารับประทานเพื่อสุขภาพก็ไม่ได้หายากเย็น หรือราคาแพงแต่อย่างใด
1. กล้วยน้ำว้า : เรื่องกล้วย ๆ ที่อยู่คู่กับชีวิตคนไทยมาตั้งแต่วัยเด็กและอีกเช่นกันที่เด็กที่เติบโตในเมืองอาจไม่เคยได้รับประทานกล้วยบดกับจมูกข้าวเหมือนในชนบท กล้วยที่พวกเราชินหูชินตากันซะจนมองข้ามมันนั้นจริง ๆ แล้วมีสารอาหารระดับเทพอยู่อย่างมหาศาลเลยล่ะ ไม่ว่าจะเป็น………. ธาตุเหล็กในปริมาณสูงซึ่งนั่นจะช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซีช่วยบำรุงกระดูก ฟัน และเหงือกให้แข็งแรง ช่วยให้ผิวพรรณดี มีเบต้าแคโรทีน ไนอาซีนและใยอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่องขึ้น กินกล้วยน้ำว้าสุก จะช่วยระบายท้องและสามารถรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันในเด็กเล็กได้ ช่วยลดอาการเจ็บคอ เจ็บหน้าอกที่มีอาการไอแห้งร่วมด้วย โดยกินวันละ ๔-๖ ลูก แบ่งกินกี่ครั้ง ก็ได้ กินกล้วยก่อนแปรงฟันทุกวันจะทำให้ไม่มีกลิ่นปาก และผิวพรรณดี เห็นผลได้ใน ๑ สัปดาห์ กล้วยน้ำว้าดิบและห่ามมีสารแทนนิน เพคตินมีฤทธิ์ฝาดสมาน รักษา อาการท้องเสียที่ไม่รุนแรงได้ โดยกินครั้งละครึ่งผล หรือ ๑ ผล อาการท้องเสียจะทุเลาลง นอกจากนี้จากการศึกษาวิจัยยังพบว่า มีผลในการรักษาโรคกระเพาะได้อีกด้วย …. โห.. ! … ไปซื้อผลไม้นอกราคาแพงกินอยู่ได้ตั้งนาน – -’
2. ส้มเขียวหวาน : ผลไม้สุดคลาสสิคที่ไปตลาดไหนก็เจอ วางขายหลากพันธุ์หลายรสหวานบ้างเปรี้ยวบ้างตามแต่ความชื่นชอบส่วนบุคคล แต่ที่แน่ ๆ เจ้าผลไม้ทรงผลแป้น ๆ ชนิดนี้ สรรพคุณเหลือเชื่อเลยล่ะครับ ลองดูข้อมูลนี้แล้วกัน => ในส้มเขียวหวาน 100 กรัม (ไม่นับรวมเปลือกนะ – -’) มีสารอาหารดังนี้
- คาร์โบไฮเดรต 9.90 กรัม
- โปรตีน 0.60 กรัม
- ไขมัน 0.20 กรัม
- แคลเซียม 31 มิลลิกรัม
- เหล็ก 0.80 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 18.00 มิลลิกรัม
- วิตามินเอ 4000 หน่วยสากล
- วิตามินบี 1 0.04 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 0.05 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 18.00 มิลลิกรัม
- เส้นใย 0.02 กรัม
- ความชื้น 88.70 กรัม
- แคลอรี 44 หน่วย
เป็นไงล่ะครับ …. อึ้งไปตาม ๆ กัน เลยใช่มั้ยล่ะครับ … จะว่าส้มแค่ 2 ลูกมันก็ถึง 100 กร้มแล้วนะครับ แต่ดูแค่ชื่อสารอาหารแล้วคิดไม่ออกเหมือนกันครับว่ามันดียังไง ผมเลยไปหาสรรพคุณที่เป็นภาษาเข้าใจง่ายขึ้นอีกหน่อยมาเล่าให้ฟังด้วยครับ นั่นคือ ส้มเขียวหวานนั้นช่วยป้องกันโรคไข้หวัด ช่วยบรรเทาอาการกระหาย ช่วยป้องกันการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ช่วยลดปริมาณของคอเลสเตอรอลในเลือด แถมยังช่วยทำให้ระบบการย่อยอาหารภายในร่างกายเป็นไปอย่างปกติ และยังทำให้ผิวพรรณของคุณสวยงามเปล่งปลั่งอีกด้วย ! … ฉนั้นไปตลาดครั้งหน้าอย่าลืมพาน้องส้มกลับบ้านนะครับ ^ ^
3. มะละกอ : ผลไม้ชื่อแปลกจากเมือง “มะละกา” ที่ต่อมาเพี้ยนเป็น “มะละกอ” ซึ่งพอพูดถึงใคร ๆ ก็นึกไปถึงอาหารนานาชาติชนิดหนึ่ง นั่นคือ “ส้มตำ” … ใช่ครับฟังไม่ผิดอ่านไม่เพี้ยนหรอกครับ ผมว่ามันเป็นอาหารนานาชาติไปแล้วล่ะครับ “ส้มตำ” เนี่ย และ “ส้มตำ” ยังเป็นหนึ่งในอาหารว่าง(หลายคนรับประทานเป็นอาหารหลักไปซะแล้ว – -’) ที่อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ ทั้งยังมีสรรพคุณเป็นยาระบายชั้นยอด ส่วนจะเลือกสูตรตำลาว ตำไทย หรือตำมั่ว ก็อยู่ที่ความนิยมของแต่ละคนกันล่ะครับ แต่ถ้าจะพูดถึงมะละกอสุกว่าอุดมด้วยสารอาหารอะไรบ้างก็ต้องบอกว่า …. เห็นแล้วจะ อึ้ง ! ทึ่ง … แซบกันเลยทีเดียว เพราะปริมาณสารอาหารต่อมะละกอสุก 100 กรัม มีดังนี้ครับ
- โปรตีน 0.5 กรัม
- ไขมัน 0.1 กรัม
- แคลเซียม 24 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม
- เหล็ก 0.6 มิลลิกรัม
- โซเดียม 4 มิลลิกรัม
- ไทอะมีน 0.04 มิลลิกรัม
- ไรโบฟลาวิน 0.04 มิลลิกรัม
- ไนอะซิน 0.4 มิลลิกรัม
- กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี) 70 มิลลิกรัม
นั้นไงล่ะ… ถึงกับอ้าปากค้าง…. บอกแล้วมะละกอเนี่ย เตพอย่างแรงนิ ! … แต่เตือนไว้ก่อนนะครับว่าไม่ควรรับประทานมะละกอสุกติดต่อกันหลายๆวัน เพราะจะเกิดสะสมของสาร แคโรทีน ทำให้ผิวเหลือง ได้นะครับ เดี๋ยวโดนทักว่าเป็นดีซ่านเอาได้นะครับ
ผมว่ารอบนี้เอาไว้แค่นี้ก่อนดีกว่าครับรอบหน้าเดี๋ยวสรรพคุณของ มะเฟือง / มะไฟ / สัมโอ / แตงโม / มะขาม มาฝากครับผม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น